EIS ระบบสารสนเทศที่ช่วยผู้บริหารระดับสูงตัดสินใจ

การทำครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 6358322 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information Systems

ระบบสารสนเทศที่ช่วยผู้บริหารระดับสูงตัดสินใจ (EIS)


            EIS   ย่อมาจาก   executive information system  แปลว่า ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร
หมายถึง    การนำสารสนเทศหรือข้อมูลต่าง ๆ มาเก็บไว้ในรูปแบบที่ผู้บริหารมักจะต้องการใช้ และสามารถจะเรียกมาดู หรือใช้ได้สะดวก

 ระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง (EIS) เป็นระบบข่าวสารที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารองค์กร
ในเรื่องการพิจารณากำหนดนโยบาย วางแผนกลยุทธ์ขององค์กร ให้สามารถจัดการองค์กร ให้สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายหรือแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                 การจัดทำระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง มิอาจจัดทำโดยเอกเทศได้โดยลำพัง จะต้องรอผลการพัฒนาระบบข้อมูล-ข่าวสารขั้นต้นอื่นๆ ขึ้นก่อน ข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานในระบบ TPS, MIS และ/หรือ DSS จะเป็นรากฐานที่สามารถนำมาสรุปประมวลผลกับข้อมูลภายนอก (ถ้าจำเป็น)  เพื่อประกอบการตัดสินใจ บ่อยครั้งการพัฒนาระบบ EIS จากวิธีการข้างต้น มิอาจได้ข้อมูลภายในองค์กรอย่างครบถ้วน
                การเข้าสู่วงจรการพัฒนาระบบงาน (System Development Life Cycle) เพื่อพัฒนาระบบข่าวสาร
จึงเป็นวิธีการพื้นฐานที่ต้องกระทำ หลายๆ องค์กรไม่ต้องการประสบปัญหาขั้นต้น การจัดทำแผนแม่บทสารสนเทศ เพื่อกำหนดกรอบของระบบงานสารสนเทศหลัก ระบบย่อย และความต้องการข้อมูลของแต่ละประเภทของระบบข่าวสาร (TPS, MIS, DSS, EIS) ไว้อย่างครบถ้วน ในขั้นต้นนั้นกำหนดความจำเป็นเร่งด่วนจะช่วยในการพิจารณาคัดเลือกระบบงานที่จะพัฒนาก่อนหลังต่อไปได้อย่างมีระบบ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง

ความหมาย ระบบข่าวสารคอมพิวเตอร์ที่จัดทำและบริการข่าวสาร ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ที่เป็นสารสนเทศในการบริหารชั้นสูง โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา ถูกต้อง โดยที่สารสนเทศเหล่านี้ จะเป็นสารสนเทศที่ล้วนเป็นข่าวสารที่มีผลกระทบเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการบริหารและตัดสินใจให้สำเร็จและถูกต้อง ตรงทิศทางมากที่สุด
     อนึ่งนอกจากข่าวสารที่เป็นปัจจัยสำคัญๆ ในการช่วยพิจารณาตัดสินใจแล้ว ระบบ EIS ยังจะมีคุณสมบัติหรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น
          - พ่วงต่อระบบชำนาญการพิเศษ (Expert System) เพื่อช่วยวิเคราะห์ ตีความ เปรียบเทียบอดีต ทำนายอนาคตของข่าวสารขององค์กร
- ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือ การจัดการสำนักงานอัตโนมัติ ให้สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนส่งข้อมูลระหว่างบุคคลต่างๆ ได้ การสืบค้น สรุปข้อมูลจากฐานข้อมูลกลาง
          - อื่นๆ เช่น ปฏิทิน เครื่องคำนวณ การประชุมทางไกลฯ

ภาระหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงและระบบข่าวสารที่ต้องการ
                ผู้บริหารระดับสูง คือ บุคคลที่บริหารจัดการองค์กร ทั้งองค์กร หรือ บางครั้งอาจเป็นแผนก/หน่วยงานอิสระ (เช่นโรงงานผลิต) ภาระความรับผิดชอบกว้างขวางโดยมากไม่เฉพาะที่งานใดงาน หนึ่ง ได้แก่ การวางแผนกลยุทธ์ การรักษาความอยู่รอดขององค์กรฯลฯ เป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ เป็นคนสุดท้าย เช่น ด้านงบประมาณ ด้านบุคคลากร และแผนงานธุรกิจต่างๆ นอกจากนั้น ผู้บริหารระดับสูง ยังเป็นผู้ที่ต้องติดต่อ เจรจา ทำความตกลง ร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ผู้บริหารจึงมีภาระกิจความรับผิดชอบสูงที่สุดในองค์กร
      ผู้บริหารระดับสูงทำหน้าที่ใดบ้าง ภารกิจหน้าที่ได้แก่
          1. ภารกิจด้านการบริหาร
              - จัดตั้งบำรุงรักษาองค์กร
              - จัดการด้านแหล่งเงินทุน บุคลากร-กำลังผลิตและผลผลิต (สินค้า)
              - จัดการวางตัวสรรหา ยกเลิก/ และวางแผนความต้องการ กำลังคน/เครื่องจักร
              - ดูแลงานการวางแผน ควบคุม งบประมาณ ค่าใช้จ่ายและการติดต่อสื่อสารขององค์กร
              - กำหนดมาตรฐานงาน การแก้ไขปัญหาภายในองค์กร
              - กำหนดเป้าหมาย กิจกรรม แผนงาน
              - จัดสร้างเครือข่ายบุคคล เพื่อปฏิบัติงานและบริหารงาน
          2. ภารกิจด้านบทบาท
               - ติดต่อเจรจากับธุรกิจ/องค์กรภายนอก
               - ติดตามควบคุมสั่งการแก้ไขนโยบายแผนงานตามความจำเป็น/เหมาะสม
               - เป็นผู้นำขององค์กรที่ต้องมีวิสัยทัศน์รอบรู้ เข้าใจปัญหาต่างๆ และรู้แนวทางแก้ไข
          3. การตัดสินใจ
               - ทำหน้าที่ในการพิจารณาตัดสินใจ ชี้ขาดหาข้อยุติในกิจกรรม หรือประเด็นต่างๆ ขององค์กร
     ข่าวสารเพื่อการบริหาร
                ผู้บริหารจำเป็นต้องมีข่าวสารเพื่อประกอบการตัดสินใจและทำงาน ประเภทของข้อมูล/ข่าวสารที่จำเป็นต่อ ผู้บริหารระดับต่างๆ จะแตกต่างกันไป

คุณสมบัติของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
              เพื่อให้การใช้งานของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารเกิดประโยชน์ สูงสุด ดังนั้น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning Support)การพัฒนาระบบ EIS ผู้พัฒนาจะต้องมีความรู้ในเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy) และปัจจัยสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Factors) เพื่อที่จะสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยเพิ่มประสิทธ์ภาพในการกำหนดแผนทางกลยุทธ์ที่สมบูรณ์
2. เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Environment Focus)เนื่องจากข้อมูล หรือสารสนเทศ เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะนำมาประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้น EIS ที่ ดี จะต้องมีการใช้ฐานข้อมูลขององค์การได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังจะต้องออกแบบให้สามารถเชื่อมโยงกับแหลงข้อมูลที่มาจากภายนอกองค์การ เพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูลที่สำคัญที่จำเป็นต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร

3. มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง (Broad-based Computing Capabilities)การ ตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีโครงสร้างไม่แน่นอนและ ขาดความชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะมองถึงภาพโดยรวมของระบบแบบกว้าง ๆ ไม่ลงลึกในรายละเอียด ดังนั้นการคำนวณที่ผู้บริหารต้องการจึงเป็นลักษณะง่าย ๆ ชัดเจน เป็นรูปธรรม และไม่ซับซ้อนมาก เช่น การเรียกข้อมูลกลับมาดู การใช้กราฟ การใช้แบบจำลองแสดงภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
4. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน (Exceptional Ease of Learning and Use)ผู้ บริหารจะมีกิจกรรมที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกองค์การ ผู้บริหารจึงมีเวลาในการตัดสินใจในแต่ละงานน้อยหรือกล่าวได้ว่าเวลาของผู้ บริหารมีค่ามาก ดังนั้นการพัฒนา EIS จะต้องเลือกรูปแบบการ แสดงผลหรือการโต้ตอบกับผู้ใช้ในแนวทางที่ง่ายต่อการใช้งาน และใช้ระยะเวลาสั้น เช่น การแสดงผลรูปกราฟ ภาษาที่ง่าย และการโต้ตอบที่รวดเร็ว5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร (Customization)การ ตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์ต่อพนักงานอื่น และต่อการดำเนินธุรกิจขององค์การ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Designer) ต้องคำนึงถึงในการพัฒนา EIS เพื่อให้สามารถพัฒนา EIS ให้มีศักยภาพสูง มีประสิทธิภาพดีเหมาะสมกับการใช้งานและเป็นแบบเฉพาะสำหรับผู้บริหารที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ตามต้องการ

  การจัดเตรียมระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อองค์กรในหลายด้านด้วยกัน
          1. ด้านเป้าหมายนโยบายขององค์กร
นโยบาย/แผนงานขององค์กร เดิมจะมีลักษณะเป็นสถิตย์ กล่าวคือ ผู้บริหารจะสรุป/ประเมินสถานการณ์ จากข่าวสารที่ได้รับเป็นระยะๆ เช่นรายเดือน รายปี แต่ในกรณี EIS การส่งข่าวสารสามารถกระทำได้ทุกนาที ดังนี้ เป้าหมายขององค์กรจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว (Dynamic)
          2. ด้านบุคลากร
              ผู้บริหารจะต้อมีความรู้ขั้นต้นในการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ และเนื่องจากการควบคุมติดตามประเมินผล ในงานบางเรื่องสามารถกำหนดเป็นเกณฑ์มาตรฐาน มีเงื่อนไข การตัดสินใจที่ชัดเจน ดังนั้นผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง อาจมีความสำคัญลดน้อยลง เพราะใช้ระบบการกลั่นกรอง แบบอัตโนมัติ และระบบผู้เชี่ยวชาญ ช่วยวิเคราะห์ ตัดสินใจได้ในบางส่วน
          3. ด้านเทคโนโลยี
              การพัฒนาการของเทคโนโลยีในด้านการสื่อสารฐานข้อมูล และสื่อประสมทำให้ วิธีการปฏิบัติงานใน องค์กรเปลี่ยนแปลงไป จากระบบเอกสาร-แฟ้ม เป็นระบบ แฟ้มดิจิตอล เชื่อมโยงภายใน  วีดีโอ และเสียง ความเข้าใจ/การแก้ปัญหา กระทำได้ตรงประเด็น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ข้อดีและข้อจำกัดของ EIS
             ในทางปฏิบัติไมมีระบบสารสนเทศใดที่มีความทันสมัยและสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับ EIS เราจะกล่าวถึงข้อดีและข้อจำกัดของ EIS ดังต่อไปนี้
 นอกจากข้อดีและข้อจำกัดของ EIS ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพต้องได้รับการตรวจสอบ ประเมินผล และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ EIS เนื่องจากความต้องการสารสนเทศของผู้บริหารมีความละเอียดอ่อน
 ยืดหยุ่น ตรงตามความต้องการ และทันเวลา โดยเฉพาะ EIS จะเป็นระบบที่ต้องการในองค์การต่างๆ มากขึ้นในอนาคต แม้ว่าในปัจจุบันการพัฒนาระบบจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากก็ตาม แต่ถ้าได้รับการวางแผนและดำเนินงานอย่างรัดกุม EIS ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งจะสร้างประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่องค์การได้เป็นอย่างมาก มิเช่นนั้นการใช้ EIS อาจจะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมและการสูญเสียหรือการเสียเปล่าในการลงทุนขององค์การ
 ข้อดีของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
1. ง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง
2. ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ในเวลาสั้น
4. ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสารสนเทศที่นำเสนออย่างชัดเจน
5. ประหยัดเวลาในการดำเนินงานและการตัดสินใจ
6. สามารถติดตามและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อจำกัดของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน เนื่องจาก EIS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง
2. ข้อมูลและการนำเสนออาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหาร
3. ยากต่อการประเมินประโยชน์และผลตอบแทนที่องค์การจะได้รับ
4. ไม่ถูกพัฒนาให้ทำการประมวลผลที่ซับซ้อนและหลากหลาย
5. ซับซ้อนและยากต่อการจัดการข้อมูล
6. ยากต่อการรักษาความทันสมัยของข้อมูลและของระบบ
7. ปัญหาด้านการรักษาความลับของข้อมูล
คุณลักษณะของระบบสนับสนุนผู้บริหาร EIS
 มีการใช้งานบ่อย
 ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
 ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
 การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
 การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน
 ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
 การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
 ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด
โครงสร้างของระบบ EIS



User / Role Matrix Model

           ระบบ EIS รองรับให้สามารถใช้งานและร่วมกันทำงานได้หลายคน และหลายระดับตั้งแต่ผู้ปฎิบัติงานส่วนต่างๆ
ไปจนถึงผู้บริหารระดับสูง บนข้อมูลชุดเดียวกัน ซึ่งทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง แม่นยำ และสามารถเห็นทั้งภาพรวม
รวมทั้งรายละเอียดของแต่ละจุดได้ นอกจากนั้น ระบบ EIS สามารถที่จะกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลและ
แก้ไขข้อมูลของผู้ใช้งานในแต่ละระดับได้ด้วย


รูปแบบข้อมูลในแต่ละจุด

        ระบบรองรับให้สามารถเก็บข ้อมูลในลักษณะดังต่อไปนี้
 1. ข้อมูลท่ัวไป (Static Information) ในรูปแบบข้อความ หรือ ตัวเลข เช่น ชื่อ, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์
 2. รูปภาพ หรือ VDO
 3. ข้อมูลสถติิ(Statistics & History) เช่น ยอดขาย หรือ จำนวนลูกค้า เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
    หรือเรียกดูข้อมูล ตามเงื่อนไขที่ก ำหนด 
 4. ข้อมูลในรูปแบบที่กำหนดเอง (Customized Form Design) 
 5. URL Link เช่น CCTV, Measurement device
ตัวอย่างการใช้ระบบ EIS ในธุรกิจต่างๆ
ตัวอย่างที่ 1
บริษัทที่มีหน่วยงาน/ สาขา/ ผู้แทนหรือลูกค้ากระจายอยู่ทั่วพื้นที่ในประเทศไทย
- สามารถดูข้อมูลยอดขายในแต่ละพื้นที่(หรือหลายพื้นที่) ในช่วงเวลาต่างๆได้
- สามารถดูผล performance ของพนักงาน/หน่วยงานซึ่งประจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆในช่วงเวลาต่างๆได้
- สามารถดูปริมาณสินค้าคงเหลือของแต่ละประเภทสินค้าในแต่ละพื้นที่(หรือหลายพื้นที่)
 ณ. ช่วงเวลาต่างๆได้
- สามารถดูปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการของลูกค้าในพื้นที่และในช่วงเวลาต่างๆ
- สามารถดูปัญหาการขนส่งสินค้าในพื้นที่ต่างๆ ณ ช่วงเวลาที่ต้องการได้
 สามารถดูการกระจายตัวของลูกค้า เพื่อนำไปใช้ปรับกลยุทธ์ในการขยายฐานลูกค้าและพัฒนา
 ผลิตภัณฑ์และบริการให้หมาะกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่
หมายเหตุ: การแสดงและเรียกดูข้อมูลสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้า
ตัวอย่างที่ 2
บริษัทอสังหาริมทรัพย์(ขายโครงการบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และคอนโดมิเนียม)
- สามารถดูการกระจายตัวของโครงการบ้านและคอนโดในจังหวัดหรือบริเวณที่ต้องการ(รวมบริษัทคู่แข่ง)
- สามารถเลือกดูข้อมูลตามประเภทโครงการ/ ราคา/ บริษัทเจ้าของโครงการในช่วงเวลาต่างๆได้
-  สามารถแสดงข้อมูลโครงการที่ลูกค้าสนใจได้ง่าย โดยอาจคลิกเลือกจากแผนที่ หรือ การค้นหา
 โดยใส่ข้อมูลตำแหน่งราคา หรือประเภทโครงการ
- สามารถดูข้อมูลการกระจายตัวของประชากรในแต่ละพื้นที่ ทำให้การวางแผนสร้างโครงการต่างๆ
 เป็ นไปได้อย่างเหมาะสม
-  สามารถดูข้อมูลพื้นที่น้ำาท่วมในแต่ละปี ได้ ซึ่งจะช่วยตัดสินใจในการเลือกพื้นที่เพื่อก่อสร้างโครงการต่างๆ
หมายเหตุ: การแสดงและเรียกดูข้อมูลสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้า
ตัวอย่างที่3
บริษัทประกันภัย/ ประกันชีวิต
-  สามารถดูการกระจายตัวของลูกค้าที่ทำประกันภัยประเภทต่างๆ เพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจ
- สามารถดูขอบเขตพื้นที่ซึ่งเป็นบริเวณเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดภัยแล้งน้ำท่วม หรือ ความไม่สงบ
 เพื่อพิจารณาการอนุมัติค้ำขอทำประกันและอัตราเบี้ยประกันภัย/ ประกันชีวิต
-  สามารถดูข้อมูลยอดขายของลูกค้าในบริเวณต่างๆ ณ ช่วงเวลาที่ก าหนด

หมายเหตุ: การแสดงและเรียกดูข้อมูลสามารถปรับเปล่ียนได้ตามความต้องการของลูกค้า

สรุป

             การดำเนินธุรกิจที่ซับซ้อนและทั้งความรุนแรงในการแข่งขัน ทำให้ผู้บริหารต้องสามารถตัดสินใจอย่างถูกต้อง รวดเร็ว จึงต้องอาศัยสารสนเทศที่เหมาะสมดังที่มีผู้กล่าวว่า สารสนเทศ คือ อำนาจทุกองค์การจึงต้องจัดหาและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพแต่บุคลากรบางกลุ่มในองค์การจะมีความต้องการสารสนเทศที่เฉพาะ เช่น ผู้บริหารจะมีความแตกต่างจากผู้ใช้ข้อมูลในระดับอื่นที่ต้องการข้อมูลที่ชัดเจน ง่ายต่อการตัดสินใจ ไม่ต้องเสียเวลาประมวลผลอีก ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร หรือ EIS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการสารสนเทศของผู้บริหารมีความต้องการข้อมูลที่มีความแตกต่างจากบุคลากรกลุ่มอื่นขององค์การ โดยเฉพาะลักษณะของงานของผู้บริหารในปัจจุบันที่มีความสำคัญกับองค์การและมีระยะเวลาจำกัดในการตัดสินใจแก้ปัญหา เมื่อมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นซึ่งมีผลกระทบต่อองค์การ ปัจจุบันมีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะบุคคลที่เข้ารับการสัมมนาระยะสั้น หรือผู้ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่สมบูรณ์ โดยคิดว่าระบบสารสนเทศเป็นแก้วสารพัดนึกที่ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลทุกประเภท โดยเฉพาะ EIS ประการสำคัญเนื่องจากผู้บริหารระดับสูงในหลายองค์การยังมีความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้เกิดความคาดหวังที่คลาดเคลื่อนจากความสามารถของระบบสารสนเทศ ซึ่งจะมีผลต่อความประทับใจ ความเชื่อมั่นและการสนับสนุนต่อการพัฒนาระบบในอนาคต

อ้างอิงของ  
http://pimchanokkongdee.blogspot.com/2015/11/eis-7.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระบวนการยุติธรรม

ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง Excutive Information System